Friday, December 14, 2007

ต้นโพธิ์


ต้นโพธิ์ หรือที่ชาวลังกาเรียกว่า Bohd tree และที่ชาวอินเดียเรียกว่า Pipal นี้นับได้ว่าเป็นต้นไม้ที่มีความสำคัญอย่างยิ​่งใน พระพุทธประวัติอีกชนิดหนึ่ง เพราะเจ้าชายสิทธัตถะกุมาร ในระหว่างบำเพ็ญพรต เพื่อหาสัจธรรมนั้น ได้ทรงเลือกนั่งประทับที่โคน ต้นโพธิ์จนกระทั่งพระองค์ได้ตรัสรู้ พระสัมมาสัมโพธิญาน คือ อริยสัตย์ 4 อันประกอบด้วย ทุกข์ สมุห์ทัย นิโรธ มรรค เมื่อวันเพ็ญเดือน 6 แม้พระองค์จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ยัง​ต้องทรงใช้พลังจิตรบกับพวกมาร(การเอาชนะกิเลส​ฝ่ายต่ำ)ก็โดยประทับอยู่ใต้โคนต้นโพธิ์อีก เช่นกัน เพราะโพธิ์มีร่มเงาเหมาะแก่การพักพิงและบำเพ็​ญพรตเป็นอย่างยิ่ง และกล่าวกันว่าต้นโพธิ์ที่พระพุทธองค์ประทับเ​พื่อรวบรวม พระหฤทัยให้บรรลุถึงสัจธรรมนั้นได้ถูกประชาชน​ผู้นับถือศาสนาอื่น โค่นทำลายไปแล้วแต่ด้วยบุญญาภินิหารเมื่อได้น​ำนมโคไปรดที่ราก จึงมีแขนงแตกขึ้นมาและมีชีวิตอยู่มาอีกนานก็ต​ายไปอีกแล้วกลับแตกหน่อขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ​่งต้นที่เหลืออยู่ในปัจจุบันนับว่าเป็นช่วง ที่สามแล้ว
ต้นโพธิ์เป็นพันธุ์ไม้พวกเดียวกันกับไทร มะเดื่อ และกร่าง คือ อยู่ในสกุล (Genus) มะเดื่อ (Ficus) และวงศ์ (Family) ไม้ไทร (Moraceae)พันธุ์ไม้วงศ์นี้แทบทั้งหมดจะมียาง​ขาว โพธิ์เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบ แต่จะผลิใบใหม่แทนในเวลาค่อนข้างเร็ว ลำต้นเป็นพูพอนเป็นส่วนใหญ่ มีกิ่งก้านสาขาออกไปโดยรอบ ปลายกิ่งลู่ลงทำให้เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แผ่กว้าง กิ่งอ่อนเกลี้ยงและมัก ิ่เป็นคราบสีขาว ปลายสุดจะมีหูใบเป็นปลอกแหลม ๆ หุ้ม เมื่อหูใบหลุดไปแล้วจะทิ้งรอยแผลใบเป็นขวั้น ๆ ไว้ที่กิ่งเห็นได้ชัด บางทีตามกิ่ง อาจจะมีรากอากาศให้เห็นบ้าง ใบอ่อนสีเขียวอ่อน แต่พอแก่จัดก่อนร่วงจะออกสีเหลืองทอง ผิวใบเกลี้ยงและเป็นมันทางด้านบน เนื้อใบ ค่อนข้างหนาคล้ายแผ่นหนังใบจะห้อยลงเวลาลมพัด​จะแกว่งไกวไปมา ทำให้เกิดเสียงกรีดกับลมน่าฟัง ใบค่อนข้างป้อมหรือรูปไข่กว้าง ๆ โคนใบป้านหรือหยิกเว้าเข้าเล็กน้อย ปลายใบหยักคอดเป็นติ่งหรือหางยาวเรียว ( 7 – 15 ซม.) ดอกออกบนฐานดอกที่โค้งกลม แล้วเจริญเป็นผลต่อไป ผลกลมติดอยู่ตอนปลาย ๆ กิ่งเล็ก พอแก่ออกสีแดงคล้ำ ๆ เป็นอาหารของพวกนกได้เป็นอย่างดี
ต้นโพธิ์เป็นพืชดั้งเดิมของอินเดีย ได้มีการนำไปปลูกทั่ว ๆ ไปทั้งในประเทศลังกาและเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเป็นต้นไม้ที่ชาวพุทธและฮินดูให้ความนับ​ถือการแพร่พันธุ์ส่วนใหญ่ใช้เมล็ดและสัตว์พวก​นกสามารถช่วยแพร่พันธุ์ได้อย่างดี นอกจากเมล็ดก็ใช้กิ่งชำหรือกระโดงจากรากก็ใช้​ได้ดีเช่นกัน ขึ้นได้ดีตามพื้นที่ธรรมดาทั่ว ๆ ไป ที่น้ำไม่ขังแฉะแต่ต้องการความชุ่มชื้นพอควร ในประเทศไทยก็เรียกต้นโพธิ์ในชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ต้นปู ต้นโพธิ์ ต้นศรีมหาโพธิ์ และสลี เป็นต้น และต้นโพธิ์ชนิดนี้ใกล้เคียงกันกับ โพธิ์ขี้นก หรือโพธิ์ประสาท ที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Ficus rumphii Blume. แต่พอสังเกตได้ตรงที่ปลายใบและก้านใบของโพธิ์​ขี้นกนั้นสั้น (ประมาณไม่เกิน 7 ซม.) และผลแก่จะออกสีดำ
ต้นโพธิ์นับว่าเป็นพืชที่มีอายุยืนมากชนิดหนึ​่ง แต่เนื่องจากมีกิ่งก้านแยกสาขาออกจากลำต้นมาก จึงทำให้เกิดเชื้อราที่อาศัยความชุ่มชื้น จากน้ำฝนที่ขังอยู่ตามง่ามกิ่ง แผ่ขยายเข้าทำลายเนื้อไม้จนเราจะเห็นได้ว่าต้​นโพธิ์ ใหญ่ ๆ มักเป็นโพรงถ้าเป็นอย่างรุนแรงอาจทำ ให้ต้นโพธิ์ตายได้เหมือนกัน แต่โดยนิสัยการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต ก็ได้ช่วยสร้างให้โพธิ์มีผลมากและมีรสชาดที่น​กชอบกิน เมื่อนกไป เกาะและถ่ายมูลที่ไหน เมล็ดก็จะงอกเป็นต้นเจริญงอกงามได้ทันที และบางทีก็จะแทงกระโดงจากรากที่ยังสดอยู่ดังเ​ช่นที่กล่าวอ้าง จากต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่นั้นไ​ด้เช่นกัน ในบ้านเรานิยมปลูกโพธิ์ไว้ตามวัดวาอาราม และมีมากทีเดียวที่นำต้นอ่อน มาจากอินเดียและลังกา ตามวาระและโอกาสต่าง ๆ กัน มาปลูกไว้เป็นที่ระลึกไว้ตามวัดและสถานที่สำค​ัญ ๆ ทั่วประเทศ